หน้าหลัก

“การเขียนทางเทคนิค (Technical Writing)” เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับนิสิต นักศึกษา และบุคลากรที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเขียนทางเทคนิคพบในแบบเสนอโครงการ (Project Proposal) โครงงานปริญญานิพนธ์ (Senior Project) วิทยานิพนธ์ (Thesis) โครงการวิจัย รายงานเชิงเทคนิค บทความวิชาการ ฯลฯ งานเขียนทางเทคนิคแตกต่างจากงานเขียนทั่วไป เนื่องจากงานเขียนทางเทคนิคมีรูปแบบ (Format) เฉพาะตามที่กำหนด มีการใช้ภาษาเขียนที่เป็นทางการ มีความถูกต้อง แม่นยำสูง และผู้อ่านไม่ต้องตีความ ผู้เขียนจึงต้องเข้าใจกระบวนการเขียนทางเทคนิค ซึ่งประกอบด้วย • ความหมาย และขอบเขตของงานเขียนทางเทคนิค • จริยธรรมในการเขียนงานทางเทคนิค และการโจรกรรมทางวรรณกรรม (Plagiarism) • การตั้งวัตถุประสงค์ของงานเขียน การวิเคราะห์พื้นความรู้ของผู้อ่าน และแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการเขียน • โครงสร้างของงานเขียนทางเทคนิค และกระบวนการในการเขียนตั้งแต่เริ่มต้นจนได้เป็นงานเขียนที่สมบูรณ์ • การใช้รูปภาพ ตาราง และกราฟ (Visual Elements) ที่เหมาะสมในงานเขียนทางเทคนิค • การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องในงานเขียนทางเทคนิค • หลักการเขียนเอกสารอ้างอิง • รูปแบบงานเขียนทางเทคนิคประเภทต่าง ๆ เหมาะสำหรับ • นิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ที่ต้องเขียนโครงงานปริญญานิพนธ์ (Senior Project) และวิทยานิพนธ์ (Thesis) • ครู-อาจารย์ ที่ต้องเขียนบทความวิชาการ และนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ • นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และบุคลากรที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ต้องเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ หรือสรุปความก้าวหน้าของโครงการ รวมถึงการเขียนบันทึกเชิงเทคนิค เป็นต้น

วันที่เผยแพร่
สำนักพิมพ์
หมวดหมู่
บริหารจัดการ
จำนวนหน้า

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
version 1.0.5-39eadf28