หน้าหลัก

ในชั้นเรียนวิชาประวัติศาสตร์ระดับประถมฯ หรือมัธยมฯ เหตุการณ์สงคราม เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ มักถูกหยิบยกขึ้นมาปลุกเร้าความรักชาติ ในฐานะตัวอย่างความอ่อนแอของผู้ปกครอง ความล้มเหลวของราชอาณาจักร ตลอดจนความแตกสามัคคีของ “คนในชาติ” แต่ใน ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ จะนำเสนอ ข้อมูลและมุมมองใหม่ต่างจากที่รับรู้ เช่น กษัตริย์และขุนนางมิได้อ่อนแออย่างที่คิด แต่พยายามป้องกันพระนครอย่างเต็มที่ บ้านบางระจันมิได้เป็นกลุ่มชาวบ้านที่ รวมตัวกันเองด้วยความรักชาติ (เพราะสมัยนั้นยังไม่มี “ชาติ”) แต่อาจอยู่ในเครือข่าย ป้องกันพระนครของอยุธยา ที่สำคัญกองทัพอังวะเตรียมการเป็นอย่างดี โดยใช้ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีที่อยุธยาไม่เคยรับมือมาก่อน รวมถึงเมื่อ “กรุงแตก” แล้ว ข้าศึกคงมิได้มีเวลาเผาทำลายเมืองได้มากนัก เพราะกองทัพถูกเรียก ไปรับศึกจีนที่เข้ามาประชิด แต่ทว่าที่อยุธยาเหลือเพียงซากอย่างที่เห็น ในอุทยานประวัติศาสตร์ คือผลงานของคนไทยเราด้วยกัน! และที่สำคัญที่สุด หากไม่มีสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ก็ย่อมไม่มีกรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ และประเทศไทยอย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

วันที่เผยแพร่
สำนักพิมพ์
หมวดหมู่
ประวัติศาสตร์
จำนวนหน้า

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
version 1.0.5-e3a3c7d4